เวทีประกวดร้องเพลงในไทย มากเกินไปหรือเปล่า?
จากช่วงปีที่ผ่านมา หากเราสังเกตในหน้าจอโทรทัศน์จะเห็นว่าตั้งแต่วันจันทร์ – วันอาทิตย์ รายการประกวดร้องเพลงจะแทรกอยู่เกือบทุกช่วงเวลาของรายการทีวี ซึ่งจากการลองนับดูเวทีประกวดที่มีในปัจจุบันพบว่ามีมากกว่า 10 รายการที่ยังคงมีการผลิตอยู่ ดังนี้
– การประกวดร้องเพลงถ้วยพระราชทานชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย หรือ เคพีเอ็น อวอร์ด เป็นการประกวดร้องเพลงในประเทศไทย จัดโดย กลุ่มสยามกลการ ตั้งแต่ พ.ศ. 2526 จนถึงปัจจุบัน
ถือได้ว่าเป็นรายการประกวดที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศและสร้างชื่อเสียงให้กับศิลปินมากมาย เช่น ธงไชย แมคอินไตย์ (นักร้องดีเด่นประเภทเพลงไทยสากล พ.ศ. 2527),นันทนา บุญหลง (นักร้องดีเด่น พ.ศ. 2530),ธิติมา ประทุมทิพย์ (นักร้องยุวชนดีเด่น พ.ศ. 2534),ปนัดดา เรืองวุฒิ (นักร้องดีเด่น พ.ศ. 2538),อมิตา มาเรีย ยัง (ทาทา ยัง) (นักร้องยุวชนยอดเยี่ยมประเภทเพลงสากล พ.ศ. 2535)
– ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย หรือในชื่อภาษาไทยว่า ปฏิบัติการล่าฝัน เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ มีจุดประสงค์เพื่อค้นหานักล่าฝันที่ได้รับความนิยมสูงสุด เพื่อรับรางวัลมากมายพร้อมกับโอกาสที่จะได้ก้าวเข้าสู่วงการบันเทิง
ซึ่งลิขสิทธิ์ของรายการนี้ บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ได้ทำการซื้อลิขสิทธิ์และรูปแบบของรายการ La Academia จากประเทศเม็กซิโก ซึ่งมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับรายการ Star Academy ที่แพร่หลายไปทั่วโลกแต่ปรับเปลี่ยนมาเป็นเรียลลิตี้ 24 ชั่วโมง จัดมาทั้งหมด 10 ซีซั่น รวมเฉลี่ยเกือบ120 คนที่ผ่านเวทีนี้มา
– เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว เป็นการประกวดร้องเพลงในแนวเรียลลิตี้โชว์ จัดทำโดยบริษัทเอ็กแซ็กท์ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ออกฉายทางโมเดิร์นไนน์ทีวี เริ่มฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2546 กำลังก้าวสู่เดอะสตาร์ รุ่นที่ 10 ซึ่งเวทีนี้ไม่ได้วัดเฉพาะความสามารถทางด้านการร้องเท่านั้น แต่จะวัดผู้ที่มีแววว่าจะได้เป็นดาว
– The Voice Thailand รายการประกวดร้องเพลงที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 จากการที่คัดผู้เข้าประกวดจากความสามารถทางด้านเสียงร้องที่มีคุณภาพ
ซึ่งรายการดังกล่าว ซื้อลิขสิทธิ์จากทัลปา มีเดีย กรุ๊ป ประเทศเนเธอร์แลนด์ หลังจากประสบความสำเร็จอย่างสูงในฤดูกาลแรกทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 6 ที่จะเริ่มทำ The Voice Kids สำหรับเด็กอายุ 8-14 ปี ออกอากาศทางช่อง 3
– Thailand got talent เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์เกี่ยวกับการประกวดที่เฟ้นหาคนที่มีความสามารถโดดเด่น โดยไม่จำกัดอายุ เพศ จำนวน รวมทั้งประเภทของโชว์
ซื้อลิขสิทธิ์การประกวดบริเทนส์กอตแทเลินต์ จากประเทศอังกฤษมาออกอากาศในประเทศไทย โดยให้เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ร่วมกับโซนีมิวสิก เป็นผู้ผลิตรายการ เป็นรายการแรกของเวิร์คพอยท์ที่ผลิตด้วยการถ่ายทอดสด นับเป็นประเทศที่ 43 ของโลก และประเทศที่ 5 ของเอเชียที่มีรายการนี้ ผ่านมาแล้ว 2 ซีซั่น
– กิ๊กดู๋เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทวาไรตี้เกมโชว์ เป็นรายการที่มาออกอากาศแทนรายการ 07 โชว์ ที่อยู่คู่กับสถานีมานานถึง 23 ปี
รูปแบบรายการเริ่มแรกเป็นวาไรตี้เกมโชว์ที่มีความหลากหลาย ต่อมามีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการใหม่ โดยใช้ชื่อรายการว่า “กิ๊กดู๋ สงครามเพลง” เป็นการแข่งขันร้องเพลงระหว่างชุมชนต่อชุมชน เพื่อหาผู้ชนะประจำสัปดาห์ และผู้ชนะเลิศประจำฤดูกาล
– ตีสิบ เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทวาไรอิตีทอล์กโชว์ มีช่วงดันดาราเปิดโอกาสให้ผู้ชมทางบ้าน ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยทีมงานที่นำโดย ปุ๊ย-คืนสิทธิ์ ให้ขึ้นมาแสดงความสามารถต่างๆ ของตนบนเวทีของรายการ โดยมีการตัดสินให้ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดของแต่ละสัปดาห์ จากจำนวนผู้แสดง 3 คน (ปัจจุบันเหลือ 2 คน) จากคณะกรรมการ 3 ท่าน คือ อาจารย์เชน-จตุพล ชมภูนิช, ครูอ้วน-มณีนุช เสมรสุต และ โน้ต เชิญยิ้ม
– มาสเตอร์คีย์ เป็นรายการประเภทเกมโชว์ที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ปัจจุบันปรับเป็นรายการร้องเพลงใช้ชื่อว่า มาสเตอร์คีย์เวทีแจ้งเกิด
– ชิงช้าสวรรค์ เป็นรายการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมที่มีการประกวดติดต่อกันมากถึง 8 ปี ซึ่งเวทีแห่งนี้แจ้งเกิดให้กับวงดนตรีลูกทุ่งดังๆหลายโรงเรียน เช่น จ่านกร้อง
– ชุมทางเสียงทอง เป็นรายการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ชิงเงินรางวัล 500,000 บาท จัดประกวดทุกสัปดาห์ออกอากาศทางช่อง 7 – รายการลูกทุ่งเงินล้าน เป็นรายการประกวดวงดนตรีลูกทุ่งระดับมัธยมมีเงินรางวัลสูงสุด 1 ล้านบาท
-The band thailand เป็นรายการประกวดร้องเพลงวงดนตรีรายการแรกของประเทศไทย ในรูปแบบของรายการระดับโลก โดยฟอร์แมตเป็นของคนไทย ผลิตโดยเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
-Singing kid เป็นเวทีประกวดร้องเพลงสำหรับเด็ก ออกอากาศทางช่อง 3
หากข้ามไปดูในฝั่งต่างประเทศ อย่างเช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ได้มีเวทีประกวดเยอะเหมือนอย่างบ้านเรา หรือ ประเทศจีน ประเทศที่มีจำนวนผู้ชมโทรทัศน์มากที่สุดในโลก และกว่าร้อยละ 95 ของประชากรจีน 1.3 พันล้านคน ได้มีมาตรการมาควบคุมรายการบันเทิงลดลงจาก 126 รายการ เหลือเพียง 38 รายการ เนื่องจากมองว่ามีรายการบันเทิงมากเกินไปและให้มีการขยายรายการข่าวเพิ่ม ขึ้น
ซึ่งจะเห็นได้ว่ารายการประเภทดังกล่าวมีให้ชมตลอดทั้งปี รายการหนึ่งจบ รายการใหม่มาแทนที่ รวมไปถึงยังมีการพยายามคิดสร้างรายการรูปแบบนี้อยู่ตลอดเวลา เพราะเชื่อว่าเป็นรายการรูปแบบที่คนไทยชื่นชอบ แต่เอาเข้าจริงแล้วรายการประกวดร้องเพลงในบ้านเรามันเยอะเกินไปจนผลิตศิลปินเข้าสู่ตลาดเพลงชนิดที่เรียกได้ว่า ล้นแล้ว
MthaiNews
————————————————————————-
ชมข่าวภาคซ่าส์ ตอนอื่นๆ คลิ๊ก ที่นี่
No comments:
Post a Comment