6 วิธีการทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ไว้อวดจนเพื่อนทึ่ง!
เชื่อว่าวัยรุ่นหลายคนคงอยากโชว์ความสามารถ หรือโชว์ทริคเล็กๆ น้อยๆ อวดเพื่อน เพื่อสร้างความประทับใจ วันนี้เรามีวิธีการทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ แต่รับรองว่าสร้างความทึ่งให้กับคนเห็นได้แน่นอน และอุปกรณ์ก็หาได้ง่ายภายในบ้านอีกด้วย แต่จะมีวิธีไหนบ้าง? ไปติตตามกันค่ะ
6 วิธีการทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ ไว้อวดจนเพื่อนทึ่ง!
วิธีแรก : ลูกโป่งทนความร้อน
อุปกรณ์ : ลูกโป่ง 2 ลูก, เทียน, ไม้ขีดไฟ หรือไฟแช็ก, น้ำเปล่า
การทดลอง : เป่าลมใส่ลูกโป่งลูกแรก และถือไว้เหนือแสงเทียน เพื่อแสดงให้ดูว่าเปลวไฟจะทำให้เกิดการระเบิด จากนั้นนำลูกโป่งลูกที่สองใส่น้ำเปล่าลงไปแทน แล้วถือไว้เหนือแสงเทียนอีกครั้ง ก็จะพบว่าในกรณีนี้ลูกโป่งบอลลูน สามารถทนต่อความร้อนของเปลวไฟได้
คำอธิบาย : น้ำในลูกโป่งจะดูดซับความร้อนจากเปลวเทียน จึงทำให้ผิวของลูกโป่งไม่ถูกเผาไหม้และระเบิด
วิธีที่สอง : เคล็ดลับการนำดินสอแทงถุงน้ำ
อุปกรณ์ : ถุงพลาสติก, ดินสอไม้แหลมๆ , น้ำ
การทดลอง : นำถุงพลาสติกที่เตรียมไว้ใส่น้ำเปล่า และมัดปากถุง ใช้ดินสอไม้แทงทะลุถุงผ่านไปอีกด้าน จะสังเกตได้ว่าน้ำไม่รั่วแม้แต่หยดเดียว
คำอธิบาย : เป็นผลของแรงตึงผิว ที่ช่วยประสานรอยรั่วหรือกระชับรอบดินสอไว้ไม่ให้น้ำไหลออกมาได้อยู่หมัด
วิธีที่สาม : การเปลี่ยนสีผักกาดขาว
อุปกรณ์ : แก้วน้ำ 4ใบ, สีผสมอาหาร 4 สี, ผักกาดขาว 4 ใบ
การทดลอง : นำสีผสมอาหารแต่ละสี ใส่ลงไปในแก้วน้ำแต่ละใบ จากนั้นนำผักกาดขาวปักไว้ในแก้ว ทิ้งไว้ข้ามคืน ง่ายๆ แค่นี้ ใบผักกาดขาวของคุณก็เปลี่ยนเป็นมีสีสันสวยงามแล้ว
คำอธิบาย : นั่นเพราะปกติพืชจะคอยดูดซับน้ำ จึงทำให้มันดูดสีที่ผสมในน้ำผ่านท่อไปปรากฎบนใบนั้นเอง
วิธีที่สี่ : ไข่ลอยน้ำ
อุปกรณ์ : ไข่ 2 ฟอง, แก้วน้ำ 2 ใบ, น้ำเปล่า, เกลือ
การทดลอง : เทน้ำเปล่าใส่ลงไปในแก้วใบแรก จากนั้นวางไข่ใบแรกลงไปในแก้วน้ำ จะพบว่าไข่ร่วงลงไปอยู่ด้านล่างก้นแก้ว (ถ้าไข่ไม่เสีย) ส่วนแก้วใบที่สอง เทน้ำร้อนลงไปใส่เกลือ 4-5 ช้อนโต๊ะละลายให้เข้ากัน รอจนน้ำเย็นลงและใส่ไข่ใบที่สอง จะพบว่าไข่ลอยขึ้นมา
คำอธิบาย : หลักๆ เลยคือ ความหนาแน่นของโมเลกุลทั้งไข่และน้ำ โดยเฉลี่ยไข่จะมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำเปล่าไข่จึงจมลงไป แต่เมื่อเป็นเกลือ ที่ทำให้ความหนาแน่นของไข่ลดลง จึงทำให้ไข่ไม่สามารถตกลงไปถึงด้านล่างได้
วิธีที่ห้า : อมยิ้มน้ำตาลคริสตัล
อุปกรณ์ : น้ำเปล่า 2 ถ้วยตวง, น้ำตาล 5 ถ้วยตวง, แก้วน้ำ 5-6 ใบ, ไม้หนีบ, ไม้สำหรับทำเป็นก้านอมยิ้ม, สีผสมอาหารสีต่างๆ
การทดลอง : เทน้ำลงหม้อ ต้มจนน้ำเดือด จากนั้นค่อยๆ ใส่น้ำตาลลงไปทีละช้อน ระหว่างที่เติมน้ำตาล ควรคนให้ละลายทั้งหมดแล้วปิดเตาทิ้งไว้ให้เย็นลง จากนั้นหยดสีผสมอาหารลงไปในแก้วน้ำประมาณ 1-2 หยด ยกส่วนผสมลงจากเตา เทลงแก้วที่หยดสีผสมอาหาร และคนให้สีเข้ากัน นำก้านอมยิ้ม จุ่มไม้ลงในน้ำสะอาด แล้วคลุกกับน้ำตาลทรายขาวจนติดทั่วไม้ และจุ่มลงไปในแก้วสี ใช้ไม้หนีบผ้าหนีบปลายก้านอมยิ้มด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้ปลายไม้ร่วงลงมาติดกับก้นแก้ว ทิ้งรอเวลาอาจจะ 3-7 วัน ก็จะได้คริสตัลน้ำตาลอย่างที่ต้องการ
คำอธิบาย : เรียกวิธีนี้ว่าเป็น การตกตะกอน
วิธีที่หก : ไฟไม่มีเงา
อุปกรณ์ : ไม้ขีดไฟ, ไฟฉาย
การทดลอง : จุดไม้ขีดไฟ และถือไว้ห่างจากผนังห้องประมาณ 10-15 เซนติเมตร ส่องไฟฉายไปที่มือที่ถือไม้ขีด จะสังเกตเห็นว่ามีเพียงเงาของมือของคุณและแท่งไม้ขีดไฟเท่านั้น
คำอธิบาย : ที่ไฟไม่มีเงานั้น เพราะว่า ไฟไม่ได้มีลักษณะรูปทรงวัสดุที่จับต้องได้ จึงทำให้แสงเดินผ่านไปได้
ข้อมูลและภาพจาก brightside
แนวข้อสอบ
เรียนรู้การทดลองวิทยาศาสตร์แล้ว ลองมาฝึกทำข้อสอบ วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กัน >>> วิชาวิทยาศาสตร์
No comments:
Post a Comment